การทำผ้ามัดย้อม (สะเต็ม)
โครงงานสะเต็ม
เรื่อง การทำผ้ามัดย้อม
จัดทำโดย
1.ด.ญ.ทิพย์วารี ช่วยแท่น ม.2/1 เลขที่24
2.ด.ญ.ธัญสินี ดำดี ม.2/1 เลขที่26
3.ด.ญ.นรารัต ชำนาญเมือง ม.2/1 เลขที่28
4.ด.ญ.บัณฑิตา งอดสุวรรณ์ ม.2/1 เลขที่31
5.ด.ญ.ศศิมา เพชรัตน์ ม.2/1 เลขที่39
คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน
1.คุณครูนิรมล ยุระพันธุ์
2.คุณครูละม้าย ชูสุวรรณ
3.คุณครูจุฑามาศ หอมจันทร์
4.นางสาวพิมพกานต์ ถิ่นแก้ว
บทคัดย่อ
ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่อง
การทำผ้ามัดย้อมจากสีสังเคราะห์: ศึกษาเฉพาะ
เทคนิคและกระบวนการทำผ้ามัดย้อม และสีสังเคราะห์ซึ่งนำมาสู่การออกแบบลวดลายจำนวน
3 แบบ
โดยทั้ง 3 ลวดลายนั้นคือ แบบลายก้นหอย ลายริ้วแนวตั้ง และลายหัวใจ และนำมาผสมกับการมัดย้อมด้วยสัสังเคราะห์
ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ ที่มีสีสันและรูปแบบที่สวยงามไม่เหมือนใคร
สารบัญ
บทที่ 1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
3
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
5
เทคนิคและกระบวนการการทำผ้ามัดย้อม
สีสังเคราะห์
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน 9
วัสดุอุปกรณ์และวิธีทำผ้ามัดย้อม
ขั้นตอนการดำเนินงาน
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน 11
ผลการดำเนินงาน
การนำไปใช้
บทที่
5 สรุปผล อภิปรายและข้อเสนอแนะ
14
สรุปผลดำเนินงาน
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะและแนวทางในกาพัฒนา
บรรณานุกรม
15
บทที่1
บทนำ
1.แนวคิดที่มาและความสำคัญของโครงงาน
องค์ความรู้เกี่ยวกับศิลปะการนำผ้ามาย้อมด้วย
ไม่ใช่สิ่งแปลก หรือพึ่งจะค้นพบนวัตกรรมใหม่แต่อย่างใด
แต่ความรู้ภูมิปัญญาดังกล่าวได้ถูกค้นพบ ปฏิบัติและถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น
ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ดังจะเห็นได้ว่า
พระพุทธเจ้าพร้อมสาวกทั้งหลายก็ใช้ผ้าบังสุกุลสีขาวที่ใช้สำหรับห่อศพมาซักแล้วก็ย้อมด้วยสีธรรมชาติเพื่อเป็นผ้าจีวรนุ่งห่มเหมือนกัน
ดังนั้น ผู้เขียนเห็นว่าภูมิปัญญาการทำผ้มัดย้อมไม่ใช่ภูมิปัญญาชาวของบ้านธรรมดาๆ
แต่เป็นภูมิปัญญาที่มาจากแนวคิดของพระพุทธเจ้า
ซึ่งการเรียนรู้และปฏิบัติกิจกรรมดังกล่าวเหมือนกับเราได้เรียนรู้และปฏิบัติธรรมะไปด้วย
เช่น เราจะได้สมาธิจากการดึงปมชายผ้า หรือการพึงพาธรรมชาติและพึ่งพาตัวเอง
หรือการไม่ตามกระแสของสังคมที่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น
การทำผ้ามัดย้อมใช้เอง
เป็นความภาคภูมิใจของคนทำและคนที่จะสวมใส่ ด้วย
เพราะผลงานชิ้นดังกล่าวเป็นศิลปะหนึ่งเดียวในโลกที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน(รับรองได้)
โดยมีเราเป็นศิลปินเอก
แต่ในปัจจุบันศิลปะดังกล่าวกำลังเรือนหายไปจากสังคม
และถูกมองอย่างไร้คุณค่า เพราะว่ากระแสแฟชั่นสมัยใหม่มาแรง แซงตลอด หาซื้อได้ง่าย
และตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว ทันใจ ในทุกรูปแบบ
เพราะฉะนั้น กิจกรรมดังกล่าวยังรอพวกเราเหล่าศิลปินที่จะสืบสานอุดมการณ์
และศิลปะร่วมสมัย ให้คงอยู่คู่ชุมชนตลอดไป ชั่วกาลนาน
2.วัตถุประสงค์ของโครงงาน
2.1.เพื่อสืบสานภูมิปัญญาชาวบ้าน
2.2.เพื่อลดค่าใช้จ่าย
2..3.เพื่อให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์
2.4.เพื่อให้คนไทยหันกลับมาสวมใส่ผ้ามัดย้อมมากขึ้น
3.ขอบเขตและข้อจำกัดของโครงงาน
ศึกษาความเป็นมาของผ้ามัดย้อมอุปกรณ์ทีใช้ในการทำ
และขั้นตอนการทำผ้ามัดย้อม ระยะเวลามิถุนายน-สิงหาคม พ.ศ.2560
4.ประโยชน์ที่ได้รับ
4.1.ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์
4.2.ลดค่าใช้จ่าย
4.3.มีความภูมิใจในผลงานของตนเอง
4.4.ได้สืบสานภูมิปัญญาไทย
บทที่2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาโครงงานเรื่องการทำผ้ามัดย้อมจากสีสังเคราะห์ผู้จัดทำได้รวบรวมแนวคิดต่างๆจากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
2.1.เทคนิคและกระบวนการย้อมผ้า
2.2.สีสังเคราะห์
เทคนิคการมัดย้อม
เสาวนิตย์ กาญจนรัตน์ ( 2543)
ได้เขียนวิจัยถึงหลักการสําคัญในการมัดย้อมผ้าในงานวิจัยเรื่อง การออกแบบลวดลายหัตถกรรมผ้ามัดย้อมด้วยสีเคมี
หลักการสําคัญในการทํามัด ย้อมคือ ส่วนที่ถูกมัดคือส่วนที่ไม่ต้องการให้สีติด
ส่วนที่เหลือหรือส่วนที่ไม่ได้มัดคือส่วนที่ ต้องการให้สีติด การมัดเป็นการกนสีไม้ให้สีติดนั่นเอง
ลักษณะที่สําคัญของการมัดมีดังนี้
1. ความแน่นของการมัด กรณีแรก
มัดมากเกินไปจนไม่เหลือพื้นที่ให้สีแทรกซึมเข้าไปได้เลย ผลที่ได้ก็คือ ได้สี ขาวของเนื้อผ้าเดิม
อาจมีสีย้อมแทรกซึมเข้ามาได้เล็กน้อย อย่างนี้เกิดลายน้อย กรณีที่สอง มัดน้อยเกินไป
เหลือพื้นที่ให้สีย้อมติดเกือบเต็มผืน อย่างนี้เกิดลายน้อย เช่นกันทั้งผืนมีสีย้อมแต่แทบไม่มีลายเลย
กรณีที่สาม มัดเหมือนกนแต่มัดไม่แน่น อย่างนี้เท่ากับไม่ได้มัดเพราะหากมัดไม่แน่นสี
ก็จะแทรกซึมผ่านเข้าไปได้ทั่วทั้งผืน
2. การใช้อุปกรณ์ช่วยในการหนีบผ้าแล้วมัด
เพื่อให้เกิดความแน่น และเกิดลวดลายตาม แม่แบบที่ใช้หนีบ
ดังนั้นลายสวยเพียงใดขึ้นอยู่กับการออกแบบแม่แบบที่จะใช้หนีบด้วย
ลวดลายของผ้ามัดย้อม
1.ลายก้นหอย อันดับแรกให้กางเสื้อออก แล้วม้วนจากจุดกึ่งกลาง ม้วนไปเรื่อย ๆ จนทุกด้านของเสื้อเข้าหากันเป็นวงกลม แล้วนำยางมารัดไว้
2.เสื้อมัดย้อมลายริ้วแนวตั้ง วิธีทำเสื้อมัดย้อมลายริ้วแนวนอน เริ่มจากพับชายเสื้อด้านล่างขึ้นไปจนสุด ใช้หนังยางรัดให้เป็นปล้อง ๆ
3.ลายหัวใจ วาดภาพหัวใจลงบนตัวเสื้อแบบคร่าว ๆ พับเสื้อตามรอยเส้นที่ขีดไว้ จากนั้นพับเสื้อเป็นกลีบเล็ก ๆ และรัดหนังยางตามภาพตัวอย่าง
กระบวนการในกรทำผ้ามัดย้อมจากสีสังเคราะห์
1.ชั่งน้ำหนักผ้าแห้งก่อนย้อมทุกครั้ง สี 1 ตลับใช้ย้อมแห้งหนัก
250 กรัม ถ้าย้อมน้ำหนักผ้าน้อยกว่า 250 กรัมจะได้สีเข้ม และจะย้อมได้สีอ่อนถ้าย้อมผ้าน้ำหนักมากกว่า 250 กรัม
2.ซักผ้าให้สะอาดทุกครั้งก่อนย้อม (ไม่ต้องใส่น้ำยาปรับผ้านุ่ม)
โดยเฉพาะผ้าใหม่ เพื่อขจัดสิ่งสกปรกต่างๆ แป้งหรือสารตกแต่งผ้า
3.ใช้ภาชนะที่ใหญ่พอที่จะใส่น้ำให้ท่วมผ้า เพื่อพลิกผ้าหรือคนผ้าได้สะดวก
และช่วยให้ย้อมได้สีที่สม่ำเสมอ
4.นำผ้าไปจุ่มน้ำให้ทั่ว แล้วบิดหมาดๆ ก่อนนำไปย้อม
เพราะผ้าเปียกจะดูดซึมสีได้สม่ำเสมอกว่าผ้าแห้ง
ย้อมให้ครบตามเวลาที่กำหนด ถ้าใช้เวลาน้อยกว่าที่กำหนด
จะทำให้ได้สีอ่อน
5.ซักล้างผ้าที่ย้อมเสร็จแล้วด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด จนน้ำล้างใส
สำหรับผ้าที่ย้อมด้วยสีย้อมเย็น ให้ซักอีกครั้งด้วยน้ำร้อน ผสมผงซักฟอก
เพื่อขจัดสีส่วนเกินให้หลุดออก
6.ใช้ปริมาณ
เคมีช่วยย้อม และเกลือ ให้ถูกต้อง ถ้าใช้น้อย จะทำให้ได้สีอ่อนกว่าที่ตั้งใจไว้
2.2.สีสังเคราะห์
สีสังเคราะห์หรือที่เรียกกันว่าสีเคมี
เป็นสีที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นจากสารเคมีเพื่อให้ได้สีที่มีคุณสมบัติตามต้องการ
ดังนั้นสีสังเคราะห์จึงเป็นสีที่มีคุณสมบัติเหมาะสำหรับการใช้ย้อมเส้นใยแต่ละประเภท
และมีคุณสมบัติแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามสีที่ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมใช้กันเป็นสีสำเร็จรูป
เช่น สีตราแมววิ่งรอบโลก ตราสิงโตเหยียบโลก เป็นต้น
สีเคมีย้อมผ้า
เป็นสีย้อมที่สามารถเกาะติดกับเส้นใยได้โดยตรง ส่วนมากจะใช้ย้อมเส้นใยเซลลูโลส
ซึ่งจะมีคุณสมบัติที่ดีในเรื่องการเคลื่อนตัวของสีย้อม
มีความสม่ำเสอในการย้อม และยังเป็นสีย้อมที่ย้อมง่ายต่อการใช้งาน
สีย้อมผ้านี้มีสารประกอบเคมีเป็นหมู่กรดซัลโฟนิค ทำให้ตัวสีสามารถละลายน้ำได้ดี มีประจุลบ สีจะติดเส้นใยได้โดยโมเลกุลของสีจะจัดเรียงตัวแทรกอยู่ในระหว่างโมเลกุลเส้นใย และยึดจับกันด้วนพันธะไฮโดรเจน
คุณสมบัติของการใช้งานของสีย้อมผ้า สีย้อมมีความคงทนของแสงดี ไม่ซีดจางง่าย มีความคงทนต่อการซักล้างดี สีไม่ตกง่าย มีเฉดสีให้เลือกใช้มากมาย จึงเป็นสีสำหรับใช้งานหัตถกรรมทั่วไป เช่น ย้อมผ้าฝ้าย เรยอน ลินิน ป่าน ปอ กระดาษสา เป็นต้น
สีย้อมผ้านี้มีสารประกอบเคมีเป็นหมู่กรดซัลโฟนิค ทำให้ตัวสีสามารถละลายน้ำได้ดี มีประจุลบ สีจะติดเส้นใยได้โดยโมเลกุลของสีจะจัดเรียงตัวแทรกอยู่ในระหว่างโมเลกุลเส้นใย และยึดจับกันด้วนพันธะไฮโดรเจน
คุณสมบัติของการใช้งานของสีย้อมผ้า สีย้อมมีความคงทนของแสงดี ไม่ซีดจางง่าย มีความคงทนต่อการซักล้างดี สีไม่ตกง่าย มีเฉดสีให้เลือกใช้มากมาย จึงเป็นสีสำหรับใช้งานหัตถกรรมทั่วไป เช่น ย้อมผ้าฝ้าย เรยอน ลินิน ป่าน ปอ กระดาษสา เป็นต้น
บทที่3
วิธีการดำเนินงานโครงงาน
3.1.วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการทำ
3.1.1.สีสังเคราะห์
3.1.2.ถุงพลาสติก
3.1.3.เสื้อหรือผ้าสีขาว
3.1.4.น้ำอุ่น
3.1.5.ถุงมือ
3.1.6.ขวดบีบ
3.1.7.กะละมัง
3.1.8.เกลือ
กระบวนการในกรทำผ้ามัดย้อมจากสีสังเคราะห์
1.ชั่งน้ำหนักผ้าแห้งก่อนย้อมทุกครั้ง สี 1 ตลับใช้ย้อมแห้งหนัก
250 กรัม ถ้าย้อมน้ำหนักผ้าน้อยกว่า 250 กรัมจะได้สีเข้ม และจะย้อมได้สีอ่อนถ้าย้อมผ้าน้ำหนักมากกว่า 250 กรัม
2.ซักผ้าให้สะอาดทุกครั้งก่อนย้อม (ไม่ต้องใส่น้ำยาปรับผ้านุ่ม)
โดยเฉพาะผ้าใหม่ เพื่อขจัดสิ่งสกปรกต่างๆ แป้งหรือสารตกแต่งผ้า
3.ใช้ภาชนะที่ใหญ่พอที่จะใส่น้ำให้ท่วมผ้า เพื่อพลิกผ้าหรือคนผ้าได้สะดวก
และช่วยให้ย้อมได้สีที่สม่ำเสมอ
4.นำผ้าไปจุ่มน้ำให้ทั่ว แล้วบิดหมาดๆ ก่อนนำไปย้อม
เพราะผ้าเปียกจะดูดซึมสีได้สม่ำเสมอกว่าผ้าแห้ง
ย้อมให้ครบตามเวลาที่กำหนด ถ้าใช้เวลาน้อยกว่าที่กำหนด
จะทำให้ได้สีอ่อน
5.ซักล้างผ้าที่ย้อมเสร็จแล้วด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด จนน้ำล้างใส
สำหรับผ้าที่ย้อมด้วยสีย้อมเย็น ให้ซักอีกครั้งด้วยน้ำร้อน ผสมผงซักฟอก
เพื่อขจัดสีส่วนเกินให้หลุดออก
6.ใช้ปริมาณ เคมีช่วยย้อม และเกลือ
ให้ถูกต้อง ถ้าใช้น้อย จะทำให้ได้สีอ่อนกว่าที่ตั้งใจไว้
3.2.ขั้นตอนการดำเนินงาน
3.2.1.คิดหัวข้อเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษา
3.2.1.ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาคือ
การทำผ้ามัดย้อม ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด
ศึกษาค้นคว้าจากเว็บไซต์ต่างๆและเก็บข้อมูลไว้จัดทำต่อไป
3.2.3.จัดทำโครงร่างโครงงานผ้ามัดย้อมและนำเสนอครูที่ปรึกษา
3.2.4.ทดลองการทำผ้ามัดย้อม
3.2.5.นำเสนอรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะๆ นำคำแนะนำของครูที่ปรึกษามาปรับปรุงแก้ไข
บทที่4
ผลการดำเนินงาน
4.1.ผลการดำเนินงาน
สรุปการศึกษาเรื่องการทำผ้ามัดย้อมจากสีสังเคราะห์
ศึกษาเฉพาะ เทคนิคและกระบวนการทำผ้ามัดย้อม และสีสังเคราะห์
โดยเป็นการสรุปผลที่ได้จากบทที่ 1-3
ซึ่งผู้ศึกษานำข้อมูลต่างๆมาเป็นแนวทางในการออกแบบลวดลายเสื้อ 3 ตัว
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
4.1.1.ลายก้นหอย
4.1.2.ลายริ้วแนวตั้ง
4.1.3.ลายหัวใจ
สรุปผลการศึกษา
การศึกษาเรื่องการทำผ้ามัดย้อมจากสีสังเคราะห์
ศึกษาเฉพาะ เทคนิคและกระบวนการทำผ้ามัดย้อม และสีสังเคราะห์
ที่นำมาสู่ลวดลายผ้ามัดย้อมทั้ง 3 แบบ
โดยทั้ง 3 ลวดลาย ผู้ศึกษา
ได้นำเทคนิคการมัดแบบต่างๆมาใช้ ทั้งแบบ ก้นหอย แบบริ้วแนวตั้งและแบบหัวใจ
และย้อมผ้าด้วยสีสังเคราะห์ ผสมผสานกันจนเกิดลวดลายใหม่และย้อมสี
จะได้เสื้อตัวใหม่ที่มีสีสันลวดลายสวยงามและไม่เหมือนใคร
4.2.การนำไปใช้ให้ครอบคลุมหน่วยบูรณาการของกลุ่มสาระในระดับ
ม.2 เรื่อง วิถีพอเพียง
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง
พลังงานพอเพียง
แนวทางการบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง
คณิตกับชีวิตประจำวัน
แนวทางการบูรณาการ
คำนวณน้ำหนักของผ้ากับปริมาณสีที่ใช้ย้อม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง
ภาษาสร้างสรรค์
แนวทางการบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม เรื่อง ธรรมะสร้างงาน
แนวทางการบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เรื่อง
อยู่ดีมีสุข
แนวทางการบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ เรื่อง
ศิลป์สร้างสรรค์
แนวทางการบูรณาการ ใช้ความคิกสร้าสรรค์สร้างลวดลาย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่อง English
Around us
แนวทางการบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้แนะแนว เรื่อง แนะแนวชีพ
แนวทางการบูรณาการ สามารถทำผ้ามัดย้อมขายได้
บทที่5
สรุป
อภิปรายและข้อเสนอแนะ
5.1.สรุปผลการดำเนินงาน
การศึกษาเรื่องการทำผ้ามัดย้อมจากสีสังเคราะห์
ศึกษาเฉพาะ เทคนิคและกระบวนการทำผ้ามัดย้อมและสีสังเคราะห์
ที่นำมาสู่ลวดลายผ้ามัดย้อมทั้ง 3 แบบ
โดยทั้ง 3 ลวดลาย ผู้ศึกษา
ได้นำเทคนิคการมัดแบบต่างๆมาใช้ ทั้งแบบ ก้นหอย แบบริ้วแนวตั้งและแบบหัวใจ
และย้อมผ้าด้วยสีสังเคราะห์ ผสมผสานกันจนเกิดลวดลายใหม่และย้อมสี
จะได้เสื้อตัวใหม่ที่มีสีสันลวดลายสวยงามและไม่เหมือนใคร
5.2.ปัญหาและอุปสรรค
เมื่อล้างน้ำออกสีจะซีดลง จึงต้องแช่น้ำเกลือก่อนเพื่อกันสีตก
และสีซึมไม่ถึงด้านในของผ้า
5.3.ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนา
เมื่อทำผ้ามัดย้อมเสร็จควรล้างด้วยน้ำเกลือเพื่อกันไม่ให้สีตก
และขณะที่ทำควรใส่สีให้ทั่วเพื่อให้สีทั่วถึงไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นสีขาว
บรรณานุกรม
http://pamdyeingcolor.blogspot.com/2013/08/blog-post_2191.html
https://m
สวยๆ
ตอบลบสวยพี่สวย
ตอบลบอยู่ รร.อะไรคะ
ตอบลบ